دورية أكاديمية

บทความวิจัย มาตรการทางกฎหมายและการปรับตัวของประเทศไทยต่อการเปิดเสรีด้านบริการ ในสาขาวิศวกรรมภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service-AFAS) และระบบการค้าโลกใหม่: โอกาสและผลกระทบ ; Legal Measures and Adaptation of Thailand on Liberalization in Engineering Service Sector under ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) and the New World Trade Order: Opportunities and Impacts

التفاصيل البيبلوغرافية
العنوان: บทความวิจัย มาตรการทางกฎหมายและการปรับตัวของประเทศไทยต่อการเปิดเสรีด้านบริการ ในสาขาวิศวกรรมภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service-AFAS) และระบบการค้าโลกใหม่: โอกาสและผลกระทบ ; Legal Measures and Adaptation of Thailand on Liberalization in Engineering Service Sector under ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) and the New World Trade Order: Opportunities and Impacts
المساهمون: ณัฐพงศ์ สุวรรณอินทร์, ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร, อภิรดี สปริงออล, แคทรีน สหชัยยันต์
بيانات النشر: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
سنة النشر: 2019
مصطلحات موضوعية: การค้าเสรีอาเซียน, งานบริการวิศวกรรม, แรงงานวิศวกรรม, กฎหมายอนุวัต-การระบบ, การค้าโลกใหม่, หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง, Trade liberalization, Engineering service, Engineering labor, Legal implementation, ASEAN FTA, One-belt One-road, วารสารนิติศาสตร์, วารสารนิติศาสตร์ -- 2562
الوصف: ภายใต้บริบทที่การค้าด้านบริการของภูมิภาคอาเซียนเติบโตและพัฒนาถึงขีดสุด ประกอบกับปัจจัย ภายในทางสังคมของประเทศไทยและปัจจัยภายนอก คือ ทิศทางแนวโน้มในการเปิดเสรีการค้าบริการด้าน วิศวกรรมโลกและการขยายการค้าและการลงทุนตามนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One-Belt OneRoad—OBOR) สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีน มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยจะประสบ ปัญหาการขาดแคลนวิศวกรและธุรกิจงานบริการวิศวกรรมในอนาคตอันใกล้ โดยมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนวิศวกรมีฝีมือแม้จะมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ควรส่งผลในเชิงบวกต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานก็ตาม ในขณะที่การเปิดเสรีด้านวิศวกรรมอาเซียนก็จะส่งผลให้มีการไหลออกของแรงงานวิศวกรจากประเทศไทยมากขึ้นไปด้วย ; ดังนี้ผลกระทบที่ประเทศไทยอาจได้รับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการขาดองคาพยพในการพัฒนาต่อยอดโครงสร้างด้านการค้าและการลงทุนพื้นฐานในภาคเศรษฐกิจอันเป็นฐานสำหรับการผลิตสินค้าและบริการที่มีความจำเป็นต่อประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยขาดความพร้อมในการรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป ; จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า บทบัญญัติในทางระหว่างประเทศว่าด้วยการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ ในสาขางานวิศวกรรมตามกรอบอาเซียนของไทยและกฎหมายภายในของไทยในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับ สภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศและของภูมิภาค อีกทั้งมีการกำหนดข้อผูกพันในลักษณะเป็นการ ปกป้องตลาดวิศวกรรมภายในหากเปรียบเทียบกับบทบัญญัติในทางระหว่างประเทศว่าด้วยการเปิดเสรีด้าน การค้าบริการในสาขางานวิศวกรรมตามกรอบอาเซียนของประเทศมาเลเซีย โดยบทบัญญัติในทางระหว่าง ประเทศของประเทศไทยมีความคล้ายกันของเนื้อหากับกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยงานบริการ วิศวกรรมอื่นที่ประเทศไทยเคยทำแทบทั้งหมดแม้จะจัดทำในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังขาดการบูรณาการและไม่นำพาต่อแนวโน้มในการเปิดเสรีการค้างานบริการโลก ; ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการพิจารณาแก้ไขกฎหมายภายในพร้อมวางกรอบยุทธศาสตร์ในการเปิดเสรีงานบริการวิศวกรรมอย่างเป็นระบบ โดยรัฐสมควรกำหนดเป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศให้ชัดเจน พร้อมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (อาทิ สภาวิศวกร) เพื่อการบูรณาการในการทำงาน ดำเนินการเชิงรุกในสาขางานวิศวกรรมที่ประเทศไทยมีจุดแข็ง (อาทิ วิศวกรรมโยธา) ...
نوع الوثيقة: text
وصف الملف: 30 หน้า; application/pdf
اللغة: Thai
العلاقة: วารสารนิติศาสตร์ 10, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562), 161-190; http://repository.au.edu/handle/6623004553/22543Test
الإتاحة: http://repository.au.edu/handle/6623004553/22543Test
حقوق: This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner. ; Assumption University
رقم الانضمام: edsbas.CE90E653
قاعدة البيانات: BASE