رسالة جامعية

การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการคงอยู่ในงานอาชีพครูผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงาน ; Development of a causal model of teacher retention with work engagement as mediator

التفاصيل البيبلوغرافية
العنوان: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการคงอยู่ในงานอาชีพครูผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงาน ; Development of a causal model of teacher retention with work engagement as mediator
المؤلفون: อุษณีย์ รองพินิจ
المساهمون: สุวิมล ว่องวาณิช, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
بيانات النشر: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
سنة النشر: 2012
المجموعة: CUIR - Chulalongkorn University Intellectual Repository
مصطلحات موضوعية: การธำรงรักษาพนักงาน, ครู -- ความพอใจในการทำงาน, Employee retention, Teachers -- Job satisfaction
الوصف: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 ; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับการยึดมั่นผูกพันกับงานของครูและระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครู และเปรียบเทียบการยึดมั่นผูกพันกับงานของครูและการคงอยู่ในอาชีพครูตามประสบการณ์สอนที่แตกต่างกัน 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการคงอยู่ในงานอาชีพครูโดยมีปัจจัยเชิงสาเหตุมาจากทรัพยากรในงานและทรัพยากรในตัวบุคคล และส่งผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์และศึกษารูปแบบอิทธิพลทางตรงของทรัพยากรในงานและทรัพยากรในตัวบุคคลของครูต่อระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครู และอิทธิพลทางอ้อมที่มีการส่งผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงานของครูไปยังระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครู ตัวอย่างการวิจัย คือ ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัด สพฐ. ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 753 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอน บาคอยู่ระหว่าง 0.720-0.909 และค่าความเที่ยงของตัวบ่งชี้ R² อยู่ระหว่าง 0.210-0.918 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีระดับการยึดมั่นผูกพันกับงานและระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครูในระดับสูง โดยครูที่มีประสบการณ์สอนมากกว่า 15 ปีขึ้นไปมีการยึดมั่นผูกพันกับงานสอนสูงกว่าครูที่มีประสบการณ์สอนน้อยกว่า 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และครูที่มีประสบการณ์สอนแตกต่างกัน มีระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครูไม่แตกต่างกัน 2. โมเดลเชิงสาเหตุของการคงอยู่ในงานอาชีพครูผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติ Chi-square=22.790, df=23, p-value = 0.473, GFI=0.995, AGFI=0.982, RMR=0.006, RMSEA=0.000 และ ค่า Chi-square/df=0.991 3. ทรัพยากรในงานและทรัพยากรในตัวบุคคลมีอิทธิพลทางตรง (DE = 0.269, 0.426 ตามลำดับ) และทางอ้อม (IE = 0.140, 0.231 ตามลำดับ) ผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงานไปยังการคงอยู่ในงานอาชีพครู โดยมีอิทธิพลทางตรงสูงกว่าทางอ้อมผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงาน และการยึดมั่นผูกพันกับงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการคงอยู่ในงานอาชีพครู (DE = 0.233) ; The purposes of this research were : (1) to analyze and compare the work engagement level and ...
نوع الوثيقة: thesis
وصف الملف: application/pdf
اللغة: Thai
العلاقة: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37909Test
الإتاحة: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37909Test
حقوق: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
رقم الانضمام: edsbas.787188B0
قاعدة البيانات: BASE