رسالة جامعية

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการกำกับตนเอง ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ; The development of a mathematics instructional model using the cognitive apprenticeship approach for enhancing mathematics learning outcomes and self-regulation ability of undergraduate students in social sciences and humanities

التفاصيل البيبلوغرافية
العنوان: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการกำกับตนเอง ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ; The development of a mathematics instructional model using the cognitive apprenticeship approach for enhancing mathematics learning outcomes and self-regulation ability of undergraduate students in social sciences and humanities
المؤلفون: ภิรดี ฤทธิเดช
المساهمون: อภิภา ปรัชญพฤทธิ์, ปทีป เมธาคุณวุฒิ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
بيانات النشر: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
سنة النشر: 2010
المجموعة: CUIR - Chulalongkorn University Intellectual Repository
مصطلحات موضوعية: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน, การควบคุมตนเอง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, Mathematics -- Study and teaching, Self-control, Academic achievement
الوصف: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 ; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการกำกับตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3) ประเมินผลการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษาจากการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นการสำรวจปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ หัวหน้าสาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 60 คน ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 194 คน และนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 384 คน ในมหาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตอนที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยศึกษาจากผลการสำรวจและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง และการประเมินตามสภาพจริง ตอนที่ 3 เป็นการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 2210101 คณิตศาสตร์ โดยสุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน ระยะเวลาในการทดลอง 13 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการเรียน ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดการใฝ่รู้ แบบวัดการกำกับตนเอง และแบบประเมินโครงงานคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการสำรวจปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พบว่า หัวหน้าสาขาวิชาและผู้สอนคณิตศาสตร์มีความคิดเห็นตรงกันว่าปัญหาด้านผู้เรียน เป็นปัญหาสูงสุดของการเรียนการสอน ส่วนผู้เรียนมีความคิดเห็นว่าปัญหาด้านเนื้อหาวิชาเป็นปัญหาสูงสุด ทั้งนี้หัวหน้าสาขาวิชาและผู้สอนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้านเนื้อหา ด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน และด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ แต่ผู้เรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในทุกด้านดังกล่าวแตกต่างจากหัวหน้าสาขาวิชาและผู้สอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ...
نوع الوثيقة: thesis
وصف الملف: application/pdf
اللغة: Thai
العلاقة: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36403Test
الإتاحة: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36403Test
حقوق: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
رقم الانضمام: edsbas.28C09598
قاعدة البيانات: BASE